Fammed.sk@cpird.in.th
Tel.074-330189 ต่อ 5000

ผลสัมฤทธิ์ของแผนการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว

ผลสัมฤทธิ์ของแผนการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางตามมาตรฐานความรู้ความชำนาญของแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว

แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวต้องมีคุณสมบัติและความรู้ ความสามารถตามสมรรถนะ (Competency) ทั้ง 6 ด้านดังนี้ 

1. การบริบาลผู้ป่วย (Patient care)

1. สามารถให้การดูแลผู้ป่วยร่วมกับการดูแลระดับครอบครัว (Family Oriented approach) และระดับชุมชน (Community oriented approach)

2. สามารถให้การดูแลครอบคลุมทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ (Comprehensivecare) โดยใช้หลักผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient centered medicine) บนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม (Holistic care)

3. ดูแลผู้ป่วยนอก (Ambulatory care) ทั้งผู้ป่วยเฉียบพลัน (Acute care) และผู้ป่วยเรื้อรัง (Chroniccare)  สามารถรับปรึกษา ส่งปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

4. ดูแลผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลได้อย่างเหมาะสม (Appropriated inpatient care)

5. สามารถให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home care) โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และทุพพลภาพ

6. สามารถให้การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)

2. ความรู้และทักษะหัตถการทางเวชกรรม (Medical Knowledge and Procedural Skills)

 สามารถทำเวชปฏิบัติได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสมกับบริบทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวโดย

1. เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกายและจิตใจ ของระดับบุคคลทุกกลุ่มวัย

2. มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญในสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว

3. มีความรู้ความสามารถในการดูแลโดยมุ่งเน้นตั้งแต่ระดับบุคคล (Whole Person Approach) ครอบครัว (Family Oriented Approach) และชุมชน (Community Oriented Approach)

3. ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)

1. นำเสนอข้อมูลผู้ป่วยและอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ดูแลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและการดูแลแบบองค์รวม (Person-centered and Holistic Care)

3. ถ่ายทอดความรู้และทักษะให้แพทย์ นิสิต นักศึกษาแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนประชากรในชุมชนที่รับผิดชอบ

4. ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ ผู้ป่วย และครอบครัวผู้ป่วย (Doctor-patient-family relationship) โดยสามารถสื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย ญาติ ครอบครัวและชุมชน ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ มีเมตตา เคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

5. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ

6. เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคลากรอื่น โดยเฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว

4. การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (Practice-Based Learning and Improvement)

1. เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ

2. สามารถปฏิบัติงานแบบสหสาขาวิชาชีพหรือเป็นทีมได้

3. วิพากษ์บทความและงานวิจัยทางการแพทย์

4. ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์ และสาธารณสุขได้

5. นำหลักฐานเชิงประจักษ์มาประยุกต์ใช้ในเวชปฏิบัติ

5. วิชาชีพนิยม (Professionalism)

1. มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพ และชุมชน

2. มีความสนใจใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตและพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (continue medical education and professional development)

3. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

4. คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและจริยธรรมทางการแพทย์

6. การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (System-Based Practice)

1. มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศและนานาชาติ (Global and national perspective on health care system)

2. มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการบริการปฐมภูมิ (Primary Care Management)

3. มีความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำ และสามารถเป็นผู้นำในองค์กร การทำงานร่วมกับหน่วยงานนอกองค์กรและชุมชน (Leadership)

4. มีความเข้าใจเรื่องหลักการประกันคุณภาพ ระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย และสามารถร่วมดำเนินการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Quality assurance and Continuous Quality improvement)

5. มีทักษะ non-technical skills และมีความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากร (Patient and personal safety)

6. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยี (Information management and technology)

7. มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารการเงินและเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (Financial management and health economics, cost and Consciousness medicine)

8. มีความรู้เกี่ยวกับการทำเวชปฏิบัติปฐมภูมิโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน (Community-oriented primary care and community participation)

จุดเด่นและข้อดีของสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัว

โรงพยาบาลสงขลา

(อ้างอิงจากแบบประเมินปลายปีโดยแพทย์ประจำบ้าน ปีการศึกษา 2566)

หัวข้อแพทย์ประจำบ้าน

  1. แพทย์ประจำบ้านสามารถแบ่งเวลาในแต่ละวันในการทำงานและเรียน
  2. แพทย์ประจำบ้านทุกคนเอาใจใส่ ไม่ทิ้งคนไข้
  3. แพทย์ประจำบ้านทำงานตรงเวลา และรับผิดชอบงานในหน้าที่ตัวเอง

 

หัวข้ออาจารย์

  1. อาจาย์มีความเป็นกันเองกับแพทย์ประจำบ้าน
  2. อาจารย์ใส่ใจติดตามแพทย์ประจำบ้าน
  3. อาจารย์ให้ความสนใจในการติดตามงานต่าง ๆ
  4. อาจารย์ทุกท่านเป็นแบบอย่างที่ดีของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย

 

หัวข้อหลักสูตร

  1. จุดเด่น คือ การลงเยี่ยมบ้าน และการตรวจผู้ป่วยนอก
  2. หลักสูตรไม่กดดันมาก
  3. หลักสูตรทำให้มีการพัฒนาความรู้ด้านวิชาการมากขึ้น
  4. หลักสูตรการเรียนการสอนมีความทันสมัย สอดคล้องกับแนวทางการรักษาผู้ป่วยในปัจจุบัน

 

หัวข้อสถาบันฝึกอบรม

  1. ได้รับการเอาใจใส่จากอาจารย์แพทย์ทุกท่าน และความเป็นกันเองของอาจารย์ทุกท่าน
  2. อาจารย์ส่วนใหญ่เป็นกันเอง ไม่กดดัน มีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูล
  3. เป็นสถาบันที่เอื้อต่อการดูแลผู้ป่วย Primary care และช่วยให้เข้าใจการดูแลผู้ป่วยแบบ Holistic care มากขึ้น

 

“ขอขอบคุณกำลังใจที่ดีจากแพทย์ประจำบ้านทุกคน

ทีมอาจารย์และสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัวโรงพยาบาลสงขลา

จะมุ่งมั่นและตั้งใจในการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่ดี คืนสู่สังคมไทย”

 

พันธกิจของแผนการฝึกอบรม

 

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสงขลา ได้กําหนดพันธกิจของการฝึกอบรมไว้ ดังนี้

1. ผลิตบัณฑิตแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่ในสังคมพหุวัฒนธรรม และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ ที่ต้องมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวให้บริการสุขภาพ ครอบคลุมทุกมิติของการดูแลสุขภาพ ในสัดส่วนที่เหมาะสมต่อประชากร

2.ส่งเสริมให้มีนวัตกรรมที่เน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาให้แพทย์ประจำบ้าน มีความสามารถที่ครอบคลุมและจำเพาะเจาะจงมากกว่าความสามารถขั้นพื้นฐาน เช่น ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอผลงานวิชาการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการแพทย์ผ่านระบบโทรคมนาคม เป็นต้น

3. ส่งเสริมให้แพทย์ประจำบ้านได้มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบและพัฒนาไปสู่ผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของระบบสุขภาพ

4. สร้างสรรค์งานวิจัยที่ผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะ ภายใต้บริบทชุมชน ด้วยมาตรฐานวิจัยระดับประเทศ

 

กิจกรรมของการฝึกอบรม

 

การปฏิบัติงานที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก

การปฏิบัติงานที่หน่วยบริการปฐมภูมิและโรงพยาบาลเสริมสุขภาพตำบล

 

การเรียนการสอนในห้องเรียน

การทำกิจกรรมนอกสถาบัน

  

 

 

 

 

ผู้สำเร็จการศึกษา

 

ปีจบการศึกษา                                                    รายนาม

  2563                                                     นพ. ธนชน ศิริโชติ    

                                                               พญ. กานต์รวี วงษ์ภักดี       

                                                            

 

  2564                                                     พญ. ธนธรณ์ ตัณฑเวส

                                                               พญ. มรรษมณชญ์ สุจิตะพันธ์    

                                                               พญ. สรัญธร ทองวิเศษ

                                                               พญ. อัญชิสา ราชศิริส่งศรี

 

  2565                                                     พญ. ดวงธิดา  รัตนพงษ์

                                                               พญ. อนัตติยา  บุญคงทอง   

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                        

 

 

 

 

irȬ; ob_start(); ?> irȬ; ob_start(); ?> irȬ; ob_start(); ?> irȬ; ob_start(); ?>